โคก หนอง นา โมเดล เป็นรูปแบบการออกแบบพื้นที่เพื่อบริหารจัดการน้ำและการเกษตรอย่างเพียงพอและพอเพียง โดยคำนึงถึง "ภูมิสังคม" เป็นสำคัญ ซึ่งเป็นการปรับสภาพพื้นที่และภูมิประเทศ ให้เหมาะกับสังคมและวัฒนธรรมของผู้อยู่อาศัย

โคก

•   ดินที่ขุดทำหนองน้ำนั้นให้นำมาทำโคก บนโคกปลูก “ป่า 3 อย่าง ประโยชน์ 4 อย่าง” หรือการ “ปลูกพืช 5 ระดับ”
•   ปลูกพืช ผัก สวนครัว เลี้ยงหมู เลี้ยงไก่ เลี้ยงปลา ทำให้พออยู่ พอกิน พอใช้ พอร่มเย็น เป็นเศรษฐกิจพอเพียงขั้นพื้นฐาน ก่อนเข้าสู่ขั้นก้าวหน้า คือ ทำบุญ ทำทาน เก็บรักษา ค้าขาย และเชื่อมโยงเป็นเครือข่าย
•   ปลูกที่อยู่อาศัยให้สอดคล้องกับสภาพภูมิประเทศ ภูมิอากาศ และภูมิสังคม

หนอง

•   ขุดหนองเพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ยามหน้าแล้งหรือจำเป็น เป็นที่กักน้ำและบริหารน้ำเพื่อใช้ในพื้นที่ตลอดทั้งปี
•   ขุด “คลองไส้ไก่” หรือคลองระบายน้ำรอบพื้นที่ตามภูมิปัญญาชาวบ้าน โดยขุดให้คดเคี้ยวไปตามพื้นที่เพื่อให้น้ำกระจายเต็มพื้นที่เพิ่มความชุ่มชื้น และช่วยกระจายน้ำให้ทั่วถึงทั้งปี
•   การบริหารจัดการน้ำร่วมกับระบบชลประทานโดยรอบ เพื่อเก็บน้ำไว้ในพื้นที่ให้มากที่สุด โดยเฉพาะหน้าแล้งและมีอัตราการระเหยสูง เราจำเป็นต้องพึ่งพาระบบชลประทานต่างๆ เพื่อให้น้ำเพียงพอ

นา

•   พื้นที่นานั้นให้ปลูกข้าวอินทรีย์พื้นบ้าน โดยเริ่มจากการฟื้นฟูดิน ด้วยการทำเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน คืนชีวิตเล็กๆ หรือจุลินทรีย์กลับคืนแผ่นดินใช้การควบคุมปริมาณน้ำในนาเพื่อคุมหญ้า ทำให้ปลอดสารเคมีได้ ปลอดภัยทั้งคนปลูก คนกิน
•   บริเวณร่องน้ำรอบพื้นนาสามารถทำเลี้ยง กุ้ง หอย ปู ปลา ในนาข้าว เป็นการทำ “เกษตรผสมผสาน”
•   คันนาทองคำ คือคันนาที่ยกสูงจากพื้นเดิมซึ่งสามารถปลูกพืชผักสวนครัวไว้รับประทาน ยามน้ำหลากน้ำท่วมได้

 

 

Powered by MakeWebEasy.com
เว็บไซต์นี้มีการใช้งานคุกกี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ของท่าน ท่านสามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว  และ  นโยบายคุกกี้